ประวัติความเป็นมา
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่33
ค่ายสมเด็จพระบรมราชนนี

    

   
y1       ภาพความทรงจำ ย้อนอดีตอันยาวไกลกว่า 30 ปี เมื่อปี พ.ศ.2506 - 2507 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงรู้จักตำรวจตระเวนชายแดนในระหว่างที่พระองค์เสด็จประทับ ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายเขต 5 อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ได้จัดกำลังถวายกำลังอารักขา ในวันหนึ่งได้ทรงสอบถามว่า ตำรวจอะไรแต่งกายชุดเขียวๆ คล้ายทหาร จึงได้ทรงทราบว่าเป็นตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด.) พระองค์ก็ได้ทรงถามนายตำรวจชายแดนคนหนึ่งว่า ตำรวจหน่วยนี้ทำหน้าที่อะไร อยู่ที่ไหน อยากจะไปเยี่ยมตำรวจตระเวนชายแดน ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามป่าตามเขาสักแห่งหนึ่ง ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 5 จึงได้นำเสด็จไปเยี่ยมหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่อยู่ในท้องที่ อ.ฝาง มว.521 (ซึ่ง ร.ต.ต.สล้าง บุนนาค ยศในขณะนั้นเป็นผู้บังคับหมวด) ที่อยู่ บ.หัวนา ต.ม่อนปิ่น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่นั้นมาพระองค์ก็ทรงทราบและเข้าพระทัยดีว่า ตชด.ทำอะไร? ลำบากอย่างไร? ในปีต่อ ๆ มา สมเด็จพระบรมราชชนนีเสด็จ ฯ เยี่ยมหมวดตำรวจตระเวนชายแดน และหมู่บ้านในถิ่นทุรกันดารหลายแห่ง ด้วยพระเมตตาและห่วงใยต่อประชาชนที่ห่างไกลคมนาคม ขาดแพทย์รักษายามเจ็บไข้y2จึงทรงอนุเคราะห์และมอบหมายให้ตำรวจตระเวนชายแดนรับผิดชอบในการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนชาวไทยคมนาคมหากผู้ป่วยมีการอาการเกินขีดความสามารถที่จะรักษาพยาบาลในท้องถิ่นได้ก็ทรงให้มารักษา ณ โรงพยาบาลโดยอยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระองค์ท่าน เมื่อปี พ.ศ. 2512 ระหว่างที่พระองค์ท่านประทับแรมที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ทรงมีพระราชดำริจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่กับผู้ว่าราชการจังหวัด และคุณหญิงพูลสมัย ชัยนาม ซึ่งทั้งสองท่านได้นำมาปรึกษากับคณะแพทย์ พยาบาล เหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ และตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งทุกฝ่ายเต็มใจอาสาสมัครจะปฏิบัติงานโดยพร้อมเพรียงกันและนำความขึ้นกราบบังคมทูล พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้อาสาสมัครเข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์จังหวัดเชียงใหม่ มีการประชุมเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2512 เพื่อจัดตั้งหน่วยแพทย์อาสาสมัครโดยพระองค์เป็นองค์ประธาน ต่อมาจึงทรงจัดตั้งเป็นมูลนิธิแพทย์อาสาในสมเด็จพระบรมราชชนนี (พอ.สว.) ทรงมอบหมายให้ตำรวจตระเวนชายแดนเขต 5 เป็นผู้กำหนดจุดปฏิบัติงานสนับสนุนยานพาหนะอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยให้กับคณะแพทย์ในขณะปฏิบัติงานในพื้นที่ทุรกันดาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานยาและเวชภัณฑ์ในนามมูลนิธิ พอ.สว.ให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และทรงให้ความช่วยเหลือรับกิจการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์

          ตำรวจตระเวนชายแดน จัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2496 ซึ่งในขณะนั้นภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์และขบวนการค้าฝิ่นกำลังเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ป่าเขาตามแนวชายแดนภาคเหนือ รัฐบาลในขณะนั้นจึงได้จัดตั้งหน่วยที่มีความสามารถพิเศษ ในการปฏิบัติงานพื้นที่ชายแดนชื่อว่า "กองบัญชาการตำรวจรักษาชายแดนภาคพายัพ " y3โดยได้ใช้พื้นที่พระตำหนักดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่เป็นที่ตั้งหน่วย ต่อมาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยหลายครั้งให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ครั้งล่าสุดปี พ.ศ. 2529 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น  กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 และย้ายที่ทำการทำการเดิมจากพระตำหนักดาราภิรมย์ ค่ายดารารัศมี มีพื้นที่ภายในบริเวณค่าย ฯ เพียง 59 ไร่เศษ แต่มีหน่วยราชการตั้งอยู่รวมกัน 4 หน่วยงาน ได้แก่ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3, กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33, โรงพยาบาลดารารัศมี และหน่วยบินตำรวจจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีอาคารที่ทำการและอาคารบ้านพักของข้าราชการตำรวจจำนวนมาก รวมทั้งเป็นพื้นที่ตั้งพระตำหนักดาราภิรมย์พระราชชายาเจ้าดารารัศมี จึงเป็นเหตุให้สถานที่ดังกล่าวคับแคบ ไม่เหมาะสมกับภารกิจและปริมาณงานของหน่วย ต่อมาในปีพุทธศักราช 2530 พลตำรวจตรีโกวิท วัฒนะ ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) y4ได้มีคำสั่งให้ฝ่ายอำนวยการของหน่วยร่วมกันพิจารณาพื้นที่ใหม่เพื่อเป็นที่ตั้งของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 คณะสำรวจพื้นที่พบว่าบริเวณป่าสันทราย ซึ่งมีเขตติดต่อระหว่างหมู่ที่ 1 กับหมู่ที่ 7 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองตามถนนสายเชียงใหม่ - พร้าว ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และยังไม่มีหน่วยงานใดขอใช้ประโยชน์ จึงได้นำเสนอผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 เพื่อพิจารณา โดย ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 ได้พิจารณาและตรวจสอบแล้ว  จึงเลือกพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่33แห่งใหม่ จึงดำเนินการติดต่อประสานขอใช้ประโยชน์จากกรมป่าไม้ และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2533 ตามประกาศกรมป่าไม้ เรื่อง กำหนดบริเวณพื้นที่ให้ส่วนราชการ หรือองค์กรของรัฐเข้ามาใช้ประโยชน์ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฉบับที่ 30 / 2533 ลงวันที่ 10 เมษายน 2533 พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 แห่งใหม่ มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ ทางเข้าอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 15 - 16 จากทางเข้าไปจนถึงบริเวณที่ตั้งอาคารที่ทำการ มีระยะทางประมาณ 1,800 เมตร และอยู่ห่างจากค่ายดารารัศมีเดิม ประมาณ 9 กิโลเมตร ลักษณะของพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู   ด้านทิศเหนือ ยาว 2,586 เมตร จรดป่าสงวนแห่งชาติ   ด้านทิศใต้ ยาว 2,156 เมตร จรดป่าสงวนแห่งชาติ   ด้านทิศตะวันตก ยาว 875 เมตร (ทางเข้า)   ด้านทิศตะวันออก ยาว 1,174 เมตร จรดป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ที่ใช้ประโยชน์แล้วประมาณ 400 ไร่เศษ ส่วนที่เหลือ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 ราชเลขาธิการหม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี แจ้งว่าได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อค่ายว่า “ค่ายสมเด็จพระบรมราชชนนี” เป็นชื่อค่ายให้แก่ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้กรมตำรวจโดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 เป็นที่ประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์ "สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" และในวโรกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จ ฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและเปิดค่าย "สมเด็จพระบรมราชชนนี" นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2541 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และเป็นเกียรติประวัติแก่หน่วยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 สืบไป.....

ya1
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ค่ายสมเด็จพระบรมราชชนนี
เลขที่182 หมู่ 7 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290